Thursday, November 20, 2008

การเขียนรายงานผลงานทางวิชาการ

วฐ.๒/๑แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครูขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้เชี่ยวชาญ๑. ข้อมูลผู้ขอรับการประเมินชื่อ คุณวุฒิสูงสุด ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต ตำแหน่ง ครู ลำดับ คศ. สถานศึกษาโรงเรียนสำนักเขตพื้นที่การศึกษา กรม/ส่วนราชการ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รับเงินเดือนในระดับ ขั้น บาท๒. การปฏิบัติงานในปีที่ขอรับการประเมินสายงานการสอนหน้าที่การรับผิดชอบในด้านการสอน - ปฏิบัติการสอนในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระคอมพิวเตอร์ รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๘ ชั่วโมง / สัปดาห์รายวิชาตารางการทำงาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๔ ชั่วโมง / สัปดาห์รายวิชาการจัดการฐานข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๖ ชั่วโมง / สัปดาห์- ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๔ จำนวน ๑ ชั่วโมง / สัปดาห์ - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(ลูกเสือ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑ ชั่วโมง / สัปดาห์ - กิจกรรมรังสรรค์ ๒ กลุ่ม ชุมนุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ ชุมนุมกอล์ฟ จำนวน ๑ ชั่วโมง / สัปดาห์รวม จำนวน ๒๑ ชั่วโมง / สัปดาห์หน้าที่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย (ตามคำสั่ง)การปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายพิเศษ - หัวหน้างานบริหารสำนักงาน กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป - หัวหน้างานเครือข่ายผู้ปกครอง กลุ่มงานบริหารงานบุคคล - คณะกรรมการและเลขานุการ งานพัฒนาองค์กร กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป - คณะกรรมการงานเสริมสร้างประสิทธิภาพบุคลากร- คณะทำงานผู้ปกครองเครือข่าย งานสารวัตรนักเรียน งานเสริมสร้างระเบียบวินัย- คณะกรรมการงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา - คณะกรรมการงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา- คณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ - วิทยากรศูนย์พัฒนาการเรียน การสอนวิชาคอมพิวเตอร์ - ที่ปรึกษาทางวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี- ครูต้นแบบ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี - คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา - ที่ปรึกษาในการทำผลงานทางวิชาการของ - ครูผู้ดูแลนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนข้อมูลอื่น - ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ดีเด่น ผลการสอนดีเด่น ระดับเหรียญทอง - ครูต้นแบบ ครูแกนนำ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี - วิทยากร สาขาคอมพิวเตอร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี- ที่ปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี - วิทยากรศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

ด้านที่ ๓ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่๑. ผลงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะได้รายงานผลการปฏิบัติงานซึ่งแสดงถึงการนำความรู้ความชำนาญการพิเศษที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา ย้อนหลัง ๒ ปีดังนี้๑. ปฏิบัติหน้าที่หลักเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ปฏิบัติงานสายงานการสอน รับผิดชอบหน้าที่ด้านการสอน จำนวน ๑ สาระการเรียนรู้ ดังนี้- ปีการศึกษา ๒๕๔๘ ปฏิบัติการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี งานเทคโนโลยี รายวิชาการเขียนโปรแกรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๘ ชั่วโมง / สัปดาห์ รายวิชาการจัดการฐานข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๙ ชั่วโมง/สัปดาห์ รายวิชาตารางการทำงาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๔ ชั่วโมง / สัปดาห์ และกิจกรรมรังสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๒ กลุ่ม ๑ ชั่วโมง / สัปดาห์ คุณภาพของงานการวางแผนการสอนและการเตรียมการสอนเนื่องจากข้าพเจ้าทำหน้าที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี งานเทคโนโลยี วิชาคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระเพิ่มเติม ตลอดเวลาที่ทำการสอนได้ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้มาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนพัฒนาและจัดทำแผนการสอนให้ ทันสมัยและสอดคล้องกับแนวนโยบายของหลักสูตรอยู่เสมอ รวมถึงการสร้างสื่อประกอบการเรียนการสอนและสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ จนสามารถพัฒนาการเรียนการสอนอยู่ในระดับที่ดี และมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยมีหลักการ วิธีการและกิจกรรมในการดำเนินการสอนดังนี้(๑) การวางแผนการสอน ในการวางแผนการสอน ข้าพเจ้าได้เตรียมตัวเองให้เป็นแหล่งความรู้ (Resource Person) ด้วยการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลความรู้อย่างหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเรียนการสอน ดังนี้ - ศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๒๑ และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและเนื้อหาวิชาที่สอน ตลอดถึงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เพื่อให้ทราบถึงหลักการและแนวการจัดการศึกษาให้ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมและความต้องการของผู้เรียน - เข้ารับการอบรม ประชุมสัมมนาการจัดทำแผนการเรียนรู้ เทคนิควิธีสอน การผลิตสื่อการสอนตลอดถึงวิธีการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ - เตรียมเอกสาร หนังสือหรือคู่มือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ศึกษาค้นคว้า ตลอดถึงการศึกษาเอกสารและหนังสืออื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อนำมาประกอบการสอนให้ได้เนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น - การวางแผนการสอน โดยคำนวณคาบการเรียนให้ได้ตามที่หลักสูตรกำหนดในแต่ละ ปีการศึกษา ในรายวิชาเพิ่มเติม ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กำหนดเวลาเรียน ๘๐ ชั่วโมง / ปี รายวิชาพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เวลาเรียน ๔๐ ชั่วโมง และรายวิชาเพิ่มเติม ช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เวลาเรียน ๖๐ ชั่วโมง หากห้องเรียนใดมีเวลาไม่พอจะหาเวลาสอนนักเรียนให้มีชั่วโมงการเรียนครบตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ - การจัดแบ่งเนื้อหา แบ่งเนื้อหาตามที่หลักสูตรกำหนด แล้วกำหนดเนื้อหาลงในแผนการสอนในแต่ละภาคเรียนให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่สอนในภาคเรียนนั้นๆ กำหนดหัวข้อเนื้อหาสาระสำคัญให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของวิชาคอมพิวเตอร์ และคำอธิบายรายวิชา - การกำหนดการสอน ได้จัดทำโครงการสอนโดยละเอียด เตรียมวิธีการสอนโดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หน่วยการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ โครงการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน สื่ออุปกรณ์ การวัดผลประเมินผล ตลอดจนกำหนดผลการเรียนรู้ในการสอบกลางปีและปลายปี เรียงลำดับบทเรียนใหม่และแบ่งเนื้อหาแต่ละบทให้เหมาะสมกับเวลาเรียน จากง่ายไปหายาก- การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ได้นำรายละเอียดจากโครงการสอนที่วางไว้แต่ต้นมาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีส่วนประกอบ คือ สาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และกิจกรรมเสนอแนะ - การเลือกใช้เทคนิควิธีสอน ข้าพเจ้าได้เลือกใช้เทคนิคการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด กล่าวคือ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้เป็นสำคัญ และเลือกเทคนิควิธีสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดไว้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับกระบวนการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวน ๑ เครื่องต่อนักเรียน ๒ คนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ การใช้สื่อการสอนที่เป็นบทเรียนออนไลน์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยนักเรียนสมัครเข้าเรียนบทเรียน ในเว็บไซต์ของ ในบทเรียนออนไลน์ที่ได้สร้างขึ้นอยู่ที่ สาระคอมพิวเตอร์ วิชาการจัดการฐานข้อมูล๔๘ ซึ่งเป็นแนวทางของการปฏิรูปการศึกษา ที่จะสนองการเรียนการสอนบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร เทคนิคการสอนที่ใช้ ได้แก่ คู่คิด เพื่อนเรียน กลุ่มแข่งขัน co-op-co-op ฯลฯ- การวางแผนเกี่ยวกับสื่อการสอน ข้าพเจ้าได้กำหนดประเภทของสื่อการสอนให้เหมาะสมกับวิธีดำเนินการสอน และกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้อย่างชัดเจน และได้จัดทำโครงการผลิตสื่อการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในระดับชั้นที่ทำการสอนทุกรายวิชา- การวางแผนเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล ข้าพเจ้าจะเน้นการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงให้มากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดผลประเมินผลด้วย จะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพื่อใช้ในการวัดผลก่อนและหลังการสอบกลางภาคเรียน และกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพื่อใช้ในการสอบไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้อย่างชัดเจน จัดทำเครื่องมือวัดผลอย่างหลากหลาย ทั้ง แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบบันทึก แบบประเมิน ผลงาน แบบประเมินตนเองของผู้เรียน ส่วนข้อทดสอบจะกำหนดให้มีทั้งแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน เป็นรายจุดประสงค์และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๒. การส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนรับผิดชอบการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดังนี้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(ลูกเสือ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน๑ ชั่วโมง / สัปดาห์ กิจกรรมรังสรรค์ ๒ กลุ่ม ชุมนุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ และชุมนุมเว็บสร้างสรรค์ จำนวน ๑ ชั่วโมง / สัปดาห์ กิจกรรมคณะสี จำนวน ๒ ชั่วโมง / สัปดาห์ ครูที่ปรึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๔ จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์ ได้ดำเนินการวางแผนและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม เสียสละ ตั้งใจเรียน ขยันหมั่นเพียร ให้กำลังใจกับนักเรียนประจำชั้นอยู่เสมอ จนนักเรียนคุ้นเคย มีปัญหาในเรื่องการเรียนหรือเรื่องอื่นๆ ก็มาปรึกษาอยู่เสมอในฐานะครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ที่ได้ปฏิบัติการสอนในวิชานี้มาเป็นเวลานาน ทำให้มีความเชี่ยวชาญในการสอนเป็นอย่างดี มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร จึงได้พยายามปรับปรุงแก้ไข ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนอยู่เสมอ และคิดหาวิธี การเรียน พร้อมทั้งเทคนิคการสอนแบบต่างๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความชอบและความสนุกสนานในการเรียน มุ่งเน้นการฝึกทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนและเร้าใจให้นักเรียนเกิดความเข้าใจบทเรียน มีทัศนคติที่ดีเกิดความภูมิใจรักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีจิตสำนึกในการรักษาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นในด้านการแสดงพื้นบ้านต่อไป ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี และดีมาก เพราะได้ใช้ทักษะกระบวนการสอนอย่างหลากหลาย และเหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของผู้เรียน ทำให้นักเรียนได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ นักเรียนมีความเลื่อมใสศรัทธาในตัวผู้สอน สังเกตได้จากขณะที่สอนนักเรียนมีความร่าเริงแจ่มใส สนุกสนานและสนใจที่จะเรียนรู้ ที่ปรึกษา กิจกรรมส่งเสริมเทคโนโลยี ฝึกทักษะ ส่งเสริมความสามารถพิเศษ ให้นักเรียนที่สนใจได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ การพัฒนาเว็บไซด์ และโปรแกรมต่าง ๆ ได้ส่งเสริมความเป็นเลิศโดยส่งนักเรียนเข้าแข่งขันต่าง ๆ เช่น การใช้โปรแกรมตารางการทำงาน โปรแกรมเวริด์ การพัฒนาเว็บไซด์ และการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ ทั้งระดับภาคและระดับประเทศจนผลงานเป็นที่ประจักษ์๓. ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษาการให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในงานบริการหรือส่งเสริมงานด้านวิชาการทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรม สื่อการสอนของโรงเรียน หัวหน้างานสำนักงานกลุ่มงานบริหารทั่วไป และกรรมการและเลขานุการงานพัฒนาองค์กร เพื่อพัฒนา เสริมสร้างประสิทธิภาพบุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการงานพัฒนางานอาคารสถานที่ของโรงเรียน กรรมการสอบราคาการก่อสร้างสิ่งต่างๆในโรงเรียน กรรมการควบคุมการก่อสร้างอาคารเรียน ๒๑๖ คณะทำงานวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา วิทยากรสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาคอมพิวเตอร์ศูนย์ วิทยากรศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ของเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๑ ที่ปรึกษาทางวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ครูต้นแบบ สาระการงานอาชีพและ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลตามหลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารงานดังนี้ ศึกษา วิเคราะห์ หลักการ โครงสร้างและจุดหมายของหลักสูตรร่วมกับคณะครูจัดทำแผน ปฏิบัติงาน โครงการของโรงเรียน ร่วมพิจารณาจัดครูเข้าสอนในรายวิชาต่างๆ ติดตามดูแลการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ ให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรและระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผล การเรียนรู้ เช่น จัดทำสื่อการสอน จัดสอนซ่อมเสริม ฯลฯ ประสานงานกับฝ่ายธุรการและเจ้าหน้าที่พัสดุ จัดซื้อ จัดหาสื่อการเรียนการสอน ประเมินผลการปฏิบัติงานและโครงการ๔. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนหรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนเป็นหัวหน้างานเครือข่ายผู้ปกครองของโรงเรียน มีหน้าที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการระดับชั้นและระดับโรงเรียน ช่วยประสานงานระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองในการการขอความร่วมมือด้านต่างๆ การจัดกิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียน มีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านงานบริการและความสัมพันธ์กับชุมชน ทำให้ได้รับการยอมรับและได้รับความชื่นชมในผลงานทางสื่อมวลชนอยู่เสมอ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือด้วยดีทุกครั้งที่ขอนักเรียนไปร่วมงานแสดงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเวลาใด ๕. การบริการสังคมด้านวิชาการข้าพเจ้าได้รับการยอมรับจากคณะครูอาจารย์ทั้งในโรงเรียน และในสถาบันศึกษาต่างๆตลอดจนผู้บริหารโรงเรียนในฐานะเป็นกรรมการและเลขานุการงานพัฒนาองค์กร เป็นผู้ประสานและการจัดทำและพัฒนาคุณภาพผลงานทางวิชาการ การจัดทำและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การผลิตสื่อการสอนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อพัฒนาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะของ เป็นวิทยากรศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ของเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๑ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการอบรมพัฒนาครูให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในด้านการสอนคอมพิวเตอร์ ได้นิเทศ๖. หน้าที่อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย- วิทยากรแกนนำคอมพิวเตอร์ของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยีจังหวัด - ผู้นำครูผู้สร้างบทเรียนออนไลน์(E-learning) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๑ - วิทยากรในการสร้างบทเรียนออนไลน์ (E-learning) ของ - ๒. ผลงานตามลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งและคุณภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยะฐานะ๑. ผลงานตามลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง๑.๑ ด้านการจัดการเรียนรู้ ๑.๑.๑ การจัดการเรียนรู้โดยวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้การวางแผนและการเตรียมการสอนก่อนปฏิบัติการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ทุกระดับชั้นทุกรายวิชาที่สอน ตลอดถึงช่วงเวลาว่างจากการสอนนอกเวลาราชการ ข้าพเจ้ามีวิธีปฏิบัติในการเตรียมการสอน ดังนี้๑. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เพื่อทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ จุดหมาย หลักการ โครงสร้างและความคาดหวังของหลักสูตร ๒. ศึกษาและทำความเข้าใจกับมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานวิชา สาระการเรียนรู้ ผังมโนทัศน์ คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและรายละเอียดของเนื้อหารายวิชาที่สอน ๓. จัดทำโครงสร้างเฉพาะรายวิชา จัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยแบ่งเนื้อหาสาระตามหลักสูตรให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่จะทำการสอนตลอดปีการศึกษา๔. ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาวิชาที่จะสอนจากเอกสารหรือหนังสืออื่น ๆ และจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อนำมาประกอบการสอนให้ได้เนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สื่อในการเรียนการสอน มีไม่เพียงพอหรือเป็นเรื่องยากก็ทำการสร้างสื่อที่สามารถสอนให้นักเรียนเรียนรู้ได้ง่าย ไม่มีหนังสือแบบเรียน ข้าพเจ้าจึงต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการสืบค้นและเก็บรวบรวม ข้อมูลความรู้ จึงได้ข้อมูลที่ค่อนข้างหลากหลายและนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริง และเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ๕. ศึกษาธรรมชาติวิชาที่จะสอนและเทคนิควิธีสอนเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา๖. ทำแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา เวลาเรียนต่อชั่วโมง เทคนิคและกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนวิธีวัดผลประเมินผล โดยเตรียมการ ดังนี้๖.๑ แบ่งเนื้อหาสาระตามที่หลักสูตรกำหนด พร้อมทั้งคำนวณเผื่อไว้สำหรับทดสอบย่อยด้วยแล้วจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้- ชื่อวิชา - รหัสวิชา - ผู้สอนและผู้สอนร่วม (ถ้ามี)- ช่วงชั้น ชั้นปี ปีการศึกษาที่สอน- ระยะเวลาที่ใช้สอน (จำนวนชั่วโมงสอนรายแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้)- มาตรฐานการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้านความรู้(K) ด้านทักษะ/กระบวนการ(P) ด้านคุณลักษณะ (A)- สาระการเรียนรู้ - กระบวนการเรียนรู้- การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น - การจัดกิจกรรมการเรียนรู้- สื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอน - การวัดผลและประเมินผล / เกณฑ์การตัดสิน- บันทึกหลังสอน๗. เตรียมเทคนิควิธีสอนให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ประจำบทเรียนทุกครั้งและให้ตรงกับความถนัด ความสามารถ ความต้องการของนักเรียน ยึดหลักการสอนให้ดูง่าย เข้าใจเร็ว เร้าความสนใจต่อบทเรียน๘. จัดแบ่งเนื้อหาสาระทั้งจากตำราเรียนและจากสื่ออื่นๆ อย่างหลากหลายให้ เหมาะสมกับเวลาเรียนเพื่อเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ๙. จัดทำสื่อการเรียนการสอนที่ง่ายต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สะดวกและประหยัด เช่น บทเรียนออนไลน์(E-learning) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมหรือกลับไปทบทวนได้ซึ่งนักนักเรียนส่วนมากมีคอมพิวเตอร์และมีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน ในส่วนที่ผู้เรียนไม่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้านก็สามารถเรียนรู้ได้จาก แผ่น CD ใบความรู้ ใบงาน แบบสรุปการอภิปราย แบบเฉลยสำหรับผู้สอน ๑๐. จัดเตรียมแหล่งความรู้ต่างๆ สำหรับให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรือด้วยกระบวนการกลุ่ม ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ทั้งจากท้องถิ่น ตลอดถึงสื่อทางอินเตอร์เน็ต๑๑. จัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลายในแต่ละผลการเรียนรู้ให้ ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะ โดยจะเน้นการวัดจากสภาพจริง เช่น จัดทำแบบประเมินผลงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล แบบประเมินตนเองของผู้เรียน ตลอดจนจัดทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน เพื่อ วัดความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และนำแบบทดสอบทุกประเภทมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงข้อสอบให้ถูกต้องเหมาะสมและนำไปใช้กับผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ ๑๒. บันทึกผลการสอนทุกครั้งที่สอนทั้งขณะสอนและหลังการสอนในแต่ละผลการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อใช้แก้ไขปรับปรุง ทั้งนี้จะพิจารณาตามระดับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละห้องด้วย๑๓. ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมเนื้อหาและวิธีการสอนจากปีการศึกษาที่ผ่านมาให้ดียิ่งขึ้น๑๔. วิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและเพิ่มพูนศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน๑๕. ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมอยู่เสมอ ตลอดจนติดตามข่าวสารจากหนังสือพิมพ์หรือวารสารทางวิชาการ อินเทอร์เน็ต เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพของผู้เรียน๑๖. เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการเตรียมการสอนหรือมีปัญหาในเนื้อหาวิชาที่สอน จะไปปรึกษาครูในหมวดวิชา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนหรือศึกษานิเทศก์ เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาจากผลของการเตรียมการสอนดังกล่าวข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้ามีความพร้อมและมั่นใจ เมื่อทำการสอน ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างราบรื่น นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนอย่างสนุกสนาน มีชีวิตชีวา มีความสุข ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เพราะเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการเรียนรู้ ส่วนข้าพเจ้าจะเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนเท่านั้น ดังนั้น นักเรียนที่เรียนจากการเตรียมการสอนของข้าพเจ้า จึงมีความรู้ และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ตามจุดหมายของหลักสูตร และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ดีขึ้นอย่างน่าพอใจ การดำเนินการสอนและ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้๑. ได้ศึกษาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างละเอียดก่อน เพื่อเตรียมสื่ออุปกรณ์ให้พร้อมก่อนทำการสอน๒. เข้าทำการสอนตรงตามเวลา และรักษาเวลาในการสอนให้จบตามเวลาที่กำหนดในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้สามารถสอนได้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักสูตร๓. จัดให้มีการปฐมนิเทศนักเรียนก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนการสอน โดยชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงวิธีการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รายละเอียด เนื้อหา การวัดผลประเมินผล เงื่อนไข และงานที่มอบหมาย ๔.นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเร้าความสนใจก่อนจะดำเนินการสอนตามแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดพื้นฐานการเรียน แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และทบทวนความรู้เดิมเพื่อเชื่อมโยงความรู้เก่าไปสู่การเรียนรู้ในเรื่องใหม่๕. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักเรียนเป็นสำคัญของการเรียนรู้ โดยผ่านการเรียนรู้ทางบทเรียนออนไลน์(E-Learning) กล่าวคือ นักเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด ส่วนข้าพเจ้าจะเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและเป็นที่ปรึกษาแก่นักเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นกิจกรรมกลุ่มเพื่อนเรียนเป็นสำคัญ เน้นให้นักเรียนค้นพบคำตอบด้วยตนเอง กระบวนการทำงาน อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้โดยมุ่งให้กระบวนการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนาลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของนักเรียน ทำให้เกิดความรู้ทักษะความชำนาญ สามารถนำความรู้จากการเรียนการสอน ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความหมาย และบรรลุตามจุดประสงค์ของหลักสูตร ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น๖. การนำเทคนิควิธีการสอนต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โดยได้เลือกใช้เทคนิควิธีสอนอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้วิธีการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน ซึ่งจะทำให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามหลักสูตร เช่น เทคนิคคู่คิด เพื่อนเรียน เล่าเรื่องรอบวง ร่วมมือแข่งขัน ร่วมแรงร่วมใจ จิ๊กซอว์ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นวิธีการสอนให้สอดคล้องกับความถนัด ความสามารถ ความต้องการของนักเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิด การใฝ่เรียนใฝ่รู้ ชอบศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนสามารถค้นพบความสามารถและความถนัดของตนเองเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ประกอบอาชีพได้ในอนาคต๗. ขณะทำการสอน ได้สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้สนุกสนาน เป็นกันเองกับนักเรียนแต่ก็ไม่ละทิ้งเรื่องวินัยในห้องเรียน ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสบายใจ ไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน เช่น การเรียนเรื่องเพลงพื้นบ้าน ข้าพเจ้าได้สร้างบรรยากาศในการเรียนร่วมกับ นักเรียนได้อย่างสนุกสนาน และนักเรียนก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและเกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก๘. จัดให้มีการทดสอบก่อนเรียนทั้งรายวิชา และรายแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อวัดพื้นฐานความรู้และทดสอบหลังเรียนเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียน และวัดความก้าวหน้าใน การเรียนของนักเรียน ตลอดจนให้นักเรียนประเมินการสอนของครูระหว่างเรียนเพื่อจะได้ปรับปรุงวิธีสอนของครูด้วย๙. การจัดกิจกรรมในการสอน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับเนื้อหา และระดับชั้นของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของตน และสามารถพัฒนาตนเองได้ตามลำดับ๑๐. แนะนำแหล่งเรียนรู้จากที่ต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างหลากหลาย เช่น อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ต่างๆ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน วัด หมู่บ้าน วิทยากรท้องถิ่น ตลอดถึง ทำให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างกว้างขวางนอกเหนือจากความรู้ในห้องเรียน๑๑. การสอนซ่อมเสริมและการปรับปรุงการเรียนการสอน หลังจากการสอนได้ทำการวัดผลประเมินผล เมื่อพบว่านักเรียนมีผลการเรียนต่ำ ได้จัดการสอนซ่อมเสริมเพื่อเสริมความรู้ของนักเรียนจนสามารถปรับปรุงผลการเรียนให้ดีขึ้น ส่วนนักเรียนที่มีผลการเรียนดีอยู่แล้วได้จัดการสอนเสริมเพื่อให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มยิ่งขึ้น ๑๒. การวัดผลและประเมินผลการเรียน ได้ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายและเน้นการประเมินตามสภาพจริง เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การทดสอบ การบันทึก การสัมภาษณ์ การประเมินผลงานและกระบวนการทำงาน การสังเกต พฤติกรรมการเรียน การสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคลและรายกลุ่ม การให้นักเรียนประเมินตนเอง ตลอดถึง การประเมินทักษะปฏิบัติ ทุกครั้งที่สอนจะสำรวจรายชื่อนักเรียนทุกคน หากมีนักเรียนขาดเรียนก็จะถามสาเหตุ นักเรียนคนใดขาดเรียนบ่อยครั้งจะติดตาม โดยแจ้งครูประจำชั้นและฝ่ายแนะแนวเพื่อให้คำแนะนำปรึกษา หรือแจ้งฝ่ายปกครองของโรงเรียนให้ติดต่อไปยังผู้ปกครองเพื่อร่วมแก้ปัญหา และเมื่อเริ่มต้นสอนจะปฏิบัติดังนี้ก่อนเรียนจะวัดเจตคติที่มีต่อวิชาที่เรียน โดยให้นักเรียนทำแบบสอบถามเกี่ยวกับ การเรียนการสอนที่ผ่านมา หรือสอบถามความคิดเห็นก่อนเรียนในรายวิชานั้นๆ แล้วทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียนก่อนเรียนทั้งรายวิชา ชี้แจงถึงวิธีการเรียนแบบเน้นให้นักเรียนเป็นสำคัญ ที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองและจากกิจกรรมกลุ่มแบบร่วมมือ โดยผ่านขั้นตอนต่างๆที่ระบุในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ นักเรียนเข้าใจบทบาทของตนต่อการเรียนแบบนักเรียนเป็นสำคัญ ตลอดถึงชี้แจงให้ทราบถึงวิธีการวัดผลประเมินผล รวมทั้งงานที่นักเรียนจะต้องทำส่ง ฯลฯ นำเข้าสู่บทเรียนด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพ วีดีทัศน์ แถบบันทึกเสียง การใช้คำถามหรือยกสถานการณ์ให้ขบคิดและเห็นความสำคัญของปัญหาหรือเรื่องที่จะเรียน แล้วแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เริ่มเนื้อหาโดยทบทวนความรู้เดิมเพื่อให้สัมพันธ์กับเนื้อหาใหม่ที่ จะเรียน ดำเนินการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ เน้นให้นักเรียนมีบทบาทในการเรียนการสอนมากที่สุด สามารถค้นพบคำตอบด้วยตนเองโดยผ่านกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ ๑.๑.๒ ดำเนินการแก้ปัญหาหรือวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างเป็นระบบการวิจัยในชั้นเรียน หรือการแก้ปัญหาในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้รายงานการวิจัยในชั้นเรียนด้านการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน รวม ๒ เรื่อง ดังนี้รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรายงานการแก้ไขปัญหาพฤติกรรม ของนักเรียน รวม ๒ เรื่อง ดังนี้๑. รายงานการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์๒. การพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรายงานการแก้ไขปัญหาพฤติกรรม ของนักเรียน รวม ๒ เรื่อง มีรายละเอียด ดังนี้การใช้บทเรียนสำเร็จรูปในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนรายวิชา การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ง ๓๒๑๐๑ ซึ่งเป็นวิชาเพิ่มเติม ในกลุ่มสาระการอาชีพและเทคโนโลยี เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๒ ที่เรียนรายวิชา การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ง ๓๒๑๐๑ โดยตั้งสมมุติฐานในการวิจัยคือ เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นแล้ว นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน การดำเนินการวิจัย ได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การตรวจสอบเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ขอบเขตในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ระยะเวลาในการวิจัย คือ เดือนธันวาคม ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ที่เลือกเรียนรายวิชา การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น จำนวน ๔ กลุ่มเท่านั้น ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ยึดเนื้อหาตามคำอธิบายรายวิชา การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ง ๓๒๑๐๑ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ.๒๕๔๔ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีตัวแปรที่ศึกษา ดังนี้ คือ ตัวแปรอิสระได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูปประกอบการพัฒนาทักษะ การใช้คอมพิวเตอร์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและ บทเรียนสำเร็จรูป และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ในการเตรียมการศึกษาวิจัย ได้ดำเนินการ ดังนี้๑. ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน โดยศึกษาจาก๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒๑.๒ ศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียน จากร้านหมอคอมพิวเตอร์ ของสาระคอมพิวเตอร์ช่วงต้นปีการศึกษา ๒๕๔๗ นักเรียนมาใช้บริการฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์๑.๓ สังเกตจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนมีปัญหาด้านการใช้คอมพิวเตอร์ เช่นการบันทึกข้อมูล การขออีเมล์ การส่งอีเมล์ การพิมพ์ข้อความ การสืบค้นข้อมูล ห้องเรียน จำนวน ๕๐ คน มีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ประมาณ ๒๐ คน และส่วนใหญ่นักเรียนจะได้ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ระดับพอใช้ ผู้เรียนไม่มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดที่มุ่งมั่น ที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและนำสิ่งที่ได้จากการฝึกทักษะมาปรับให้เข้ากับชีวิตประจำวันให้ได้๒. กำหนดปัญหาในการวิจัย นักเรียนขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์๓. จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเอกสารประกอบการสอน ๔. จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน หมายถึง เอกสารที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อใช้ประกอบ การเรียนการสอน เช่น๔.๑ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นโดยจัดทำเป็นลำดับ ดังนี้ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปจนเกิดความเข้าใจในขั้นตอนต่างๆขั้นตอนที่ ๒ ทดลองทำตามบทเรียนสำเร็จรูปจนเกิดทักษะขั้นตอนที่ ๓ ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง๔.๒ บทเรียนสำเร็จรูปเพื่อพัฒนาการใช้คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับปัญหาที่ค้นพบ โดยการฝึกจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก ได้แก่- แบบฝึกการสมัครขออีเมล์- แบบฝึกการส่งอีเมล์และการส่งอีเมล์แนบไฟล์- แบบฝึกการเปิดอีเมล์- แบบฝึกการสมัครขอเป็นสมาชิกบทเรียนออนไลน์- แบบฝึกการเข้าบทเรียนออนไลน์- แบบฝึกการบันทึกข้อมูล การสร้างที่เก็บข้อมูล- แบบฝึกการพิมพ์ข้อความและการแทรกภาพ- แบบฝึกการสืบค้นข้อมูล(Google)๔. แบบทดสอบวัดความรู้ ความสามารถใน การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น จำนวน ๑ ฉบับการสร้างแบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน และการหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย๑. กำหนดผลการเรียนรู้ที่ต้องการวัดโดยพิจารณาจากการวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียน๒. สร้างแบบทดสอบนำแบบทดสอบให้ผู้เชี่ยวชาญในหมวดวิชาตรวจสอบความสอดคล้องกับเครื่องมือวัดและผลการเรียนรู้๓.นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักเรียน๒๐คนที่ใช้บริการร้านหมอคอมพิวเตอร์ของ สาระคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาข้อบกพร่องทางด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ แบบทดสอบ ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจาก เนื้อหาวกวนและยาวเกินไป๔. นำมาใช้สอนจริงกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่๒ จำนวน ๕๐ คน ปีการศึกษา๒๕๔๗วิธีดำเนินการ๑. นำแบบฝึกการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นไปฝึกกับผู้เรียน จำนวน ๕๐ คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๐ ประจำปี การศึกษา ๒๕๔๗๒. ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทดสอบก่อนเรียน โดยตอบแบบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น บันทึกรวบรวมคะแนนนำมาประกอบการวิเคราะห์ทางสถิติ๓. ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม ตามปฏิทินการปฏิบัติการสอน ผู้วิจัยดำเนินการสอนตาม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้๔. ผู้เรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมจากบทเรียนสำเร็จรูปที่กำหนดให้และทำแบบฝึกทักษะ เพื่อวัดความก้าวหน้า ทางด้านความรู้ความคิด และการแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม เพื่อฝึกทักษะใน การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น๕. ให้ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง ทำแบบทดสอบ หลังการเรียน ชุดเดิม เพื่อนำคะแนนมาประกอบ การวิเคราะห์ทางสถิติผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการฝึกพัฒนาสมรรถภาพในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสูงกว่าเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ทำให้ทราบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ได้ทราบปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียนได้แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูงขึ้นจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้แบบฝึกการพัฒนาสมรรถภาพในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่๒/๑๐ จังหวัด เสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้๑. วิเคราะห์คะแนนความสามารถในการใช้วิจารณญาณในการฟัง ด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ( X ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D )๒. เปรียบเทียบค่าคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนฝึกและหลังฝึก สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ( X ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D )ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งแสดงในตารางการวิจัย ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นพบว่า คะแนนความสามารถในการการใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียน จากการทดสอบ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการใช้คอมพิวเตอร์สูงขึ้น นั่นคือ ภายหลังการใช้นวัตกรรมฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น นักเรียนมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์สูงขึ้น จากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้สรุป อภิปรายผลและให้ข้อเสนอแนะในการวิจัยไว้ดังนี้ ผู้วิจัยได้สำรวจปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ พบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการสมัครขออีเมล์ การส่งอีเมล์และการส่งอีเมล์แนบไฟล์ การเปิดอีเมล์ การบันทึกข้อมูล การสร้างที่เก็บข้อมูล การพิมพ์ข้อความ การแทรกภาพและการสืบค้นข้อมูลด้วย Google อันเนื่องมาจาก นักเรียนที่เข้ามาเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาจากโรงเรียนต่างอำเภอ ซึ่งแต่ละอำเภอมีสภาพความพร้อมที่แตกต่างกันในด้านเทคโนโลยี ซึ่งบางคนยังไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์มาเลยจึงได้คิดแบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดยให้นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๐ เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น และนวัตกรรมที่ใช้ในการฝึก มีบทเรียนสำเร็จรูป แบบฝึกทักษะและสื่อประกอบการฝึกที่ได้แก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม นำมาฝึกทักษะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๐ เป็นเวลา ๒ สัปดาห์ หลังจากเสร็จสิ้นการสอน ทำการวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบเดียวกันกับก่อนเรียน แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังการฝึกมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ สรุปผลการใช้นวัตกรรม ภายหลังจากฝึกทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ด้วยกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น ปรากฏว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑๐ มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์สูงขึ้นนอกจากนี้ ยังได้ทำการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มโดยจัดทำรายงานผลการช่วยเหลือเพื่อพัฒนาการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๒ จังหวัด เนื่องจากข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่สอนวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๔ ห้องเรียน ในปีการศึกษา ๒๕๔๘ โดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ มุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้าน ความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด นักเรียนต้องคิดเป็น ทำเป็น ต้องปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ แต่กิจกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมานักเรียน ม ๒/๓ จำนวน ๓ คน ๒/๘ จำนวน ๔ คน ๒/๑๐ จำนวน ๓ คน ๒/๑๒ จำนวน ๕ คน ไม่ปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนด ไม่มีงานส่ง ไม่สนใจ การเรียน พูดคุยเสียงดังทำให้คนอื่นเดือดร้อน ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงได้รวบรวมปัญหาเพื่อหาสาเหตุของพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของ นักเรียน ดังนี้๑. การสัมภาษณ์ จากการสอบถามเพื่อนๆในชั้นเรียน พบว่านักเรียนกลุ่มนี้ ไม่สามารถเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆได้ เพราะไม่ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆและชอบคุยส่งเสียงดัง ทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน เพื่อนๆจึงไม่ให้อยู่ในกลุ่มด้วย จึงต้องรวมกลุ่มกันเองแต่ก็ไม่เคยทำงานส่ง๒. การสัมภาษณ์โดยตรง ให้นักเรียนที่มีปัญหามาพบครูเป็นการส่วนตัว พูดคุยถึงเรื่องการเรียน ทำไมจึงไม่ตั้งใจเรียนและไม่ส่งงานอาจารย์หลายวิชา นักเรียนตอบว่าไม่มีใครให้เข้ากลุ่ม พอมารวมกลุ่มกันเอง ก็ไม่รู้จะทำงานกลุ่มให้สำเร็จได้อย่างไร จึงอยากให้ครูช่วยเหลือในเรื่อง การทำงานกลุ่ม๓. รวบรวมปัญหาของแต่ละคนจากการสอบถาม รู้ปัญหาว่า ไม่รู้จะเริ่มต้นทำงานอย่างไรผลการใช้กระบวนการดูแลช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม พบว่า๑. ผลการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้๒. นักเรียนสามารถเป็นผู้นำกลุ่มได้ รู้จักการจัดการภายในกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น๓. ตั้งใจและสนใจเรียนดีขึ้นมีความมั่นใจในการทำงาน สามารถทำงานส่งตามที่กำหนด๔.สามารถเรียนร่วมกับเพื่อนได้กล้าคิด กล้าทำและกล้าแสดงออกมากขึ้น ถึงแม้ว่า งานที่ทำจะไม่ค่อยสมบูรณ์ แต่เขาจะภูมิใจทุกครั้งที่ส่งงาน๑.๑.๓ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและนำผลไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนการวัดผลและประเมินผลการเรียนครูผู้สอนนอกจากจะมีบทบาทหน้าที่จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน สื่ออุปกรณ์ การสอนแล้ว ยังต้องมีหน้าที่จัดเตรียมการวัดผลประเมินผลการเรียนของผู้เรียนอีกด้วย เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร ข้าพเจ้าจึงได้ปฏิบัติ ดังนี้การวัดผลและประเมินผลการเรียนครูผู้สอนนอกจากจะมีบทบาทหน้าที่จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน สื่ออุปกรณ์ การสอนแล้ว ยังต้องมีหน้าที่จัดเตรียมการวัดผลประเมินผลการเรียนของผู้เรียนอีกด้วย เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร ข้าพเจ้าจึงได้ปฏิบัติ ดังนี้๑. กระบวนการวัดผลและประเมินผลกระบวนการวัดผลและประเมินผลวิชาคอมพิวเตอร์ ทุกรายวิชาที่สอน ได้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการวัดผลเป็นไปเพื่อพัฒนาทุกๆด้านทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและด้านคุณลักษณะ โดยมุ่งเน้นการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับแนวทาง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นั่นคือ การประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) ไขพฤติกรรมทำให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณลักษณะในเรื่องนั้น ๆ ในทางที่ดีขึ้น๒. การใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผล ในการใช้เครื่องมือวัดผลประเมินผล ข้าพเจ้าได้สร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผล อย่างหลากหลายเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ได้แก่ แบบทดสอบแบบสังเกต แบบสอบถาม แบบบันทึก แบบตรวจสอบผลงานทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และแบบทดสอบ เพื่อวัดผลและประเมินความรู้ของนักเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ระหว่างเรียนและปลายปีการศึกษาและระหว่างดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ซึ่งมีทั้งแบบประเมินรายบุคคลและรายกลุ่ม มีการสร้างเครื่องมือวัดผลในการสอนซ่อมเสริม และเครื่องมือการวัดผลเมื่อทำการวิจัยในชั้นเรียน๓. การประเมินผลการเรียน การวัดผลเพื่อตัดสินผลการเรียนได้ปฏิบัติดังนี้- วัดผลปลายปีการศึกษาเพื่อตรวจสอบผลการเรียน โดยวัดให้ครอบคลุมผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้- นำคะแนนระหว่างเรียนรวมกับคะแนนปลายปีการศึกษา ตามอัตราส่วนที่กลุ่มสาระวิชากำหนดแล้วนำมาเปลี่ยนเป็นระดับผลการเรียนการอนุญาตให้นักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนเข้ารับการวัดผลปลายปีการศึกษา ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการโรงเรียน- ผู้เรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด และไม่ได้รับการผ่อนผันให้เข้ารับการวัดผลปลายปีการศึกษา จะให้ผลการเรียน “มส”- นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ให้ได้ระดับผลการเรียน “๐”- นักเรียนที่ไม่ได้วัดผล หรือไม่ได้ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย หรือมีเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้ทำการวัดผลการเรียน จะให้ผลการเรียน “ร”๔. เกณฑ์การประเมินและการตัดสินผลการเรียน๔.๑ การประเมินผลสาระการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนเป็น ๘ ระดับ ระดับผลการเรียน ๔ ความหมาย ผลการเรียนดีเยี่ยม ช่วงคะแนน ๘๐ - ๑๐๐ ระดับผลการเรียน ๓.๕ ความหมาย ผลการเรียนดีมาก ช่วงคะแนน ๗๕ - ๗๙ ระดับผลการเรียน ๓ ความหมาย ผลการเรียนดี ช่วงคะแนน ๗๐ - ๗๔ ระดับผลการเรียน ๒.๕ ความหมาย ผลการเรียนค่อนข้างดี ช่วงคะแนน ๖๕ - ๖๙ ระดับผลการเรียน ๒ ความหมาย ผลการเรียนน่าพอใจ ช่วงคะแนน ๖๐ - ๖๔ ระดับผลการเรียน ๑.๕ ความหมาย ผลการเรียนพอใช้ ช่วงคะแนน ๕๕ - ๕๙ ระดับผลการเรียน ๑ ความหมาย ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ช่วงคะแนน ๕๐ - ๕๔ ระดับผลการเรียน ๐ ความหมาย ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ประเมินขั้นต่ำ ช่วงคะแนน ๐ - ๔๙ ๔.๒ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใน ปพ. ๕๑. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร อดทน๒. เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยในตนเองและสังคม๓. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามระดับผลการเรียน ความหมาย ลง ปพ.๕ (๔๐ คะแนน)๐ ควรปรับปรุง ๐ - ๑๙๑ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ๒๐ - ๒๗๒ ดี ๒๘ - ๓๑๓ ดีเยี่ยม ๓๒ - ๔๐ช่วงคะแนน ๓๒ - ๔๐ ระดับคุณภาพ ๓ (ดีเยี่ยม) เกณฑ์ - ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามตัวบ่งชี้และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นได้ ช่วงคะแนน ๒๘ - ๓๑ ระดับคุณภาพ ๒ (ดี) เกณฑ์ - ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามตัวบ่งชี้ และปฏิบัติตนด้วยความเต็มใจ ช่วงคะแนน ๒๐ - ๒๗ ระดับคุณภาพ ๑ (ผ่านเกณฑ์ การประเมิน) เกณฑ์ - ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามตัวบ่งชี้ ปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ช่วงคะแนน ๐ - ๑๙ ระดับคุณภาพ ๐ (ควรปรับปรุง) เกณฑ์ - ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามตัวบ่งชี้ แต่ปฏิบัติตน ตามคำแนะนำและจากการกระตุ้นเตือน ๔.๓ การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความระดับผลการเรียน ความหมาย ลง ปพ.๕ (๔๐ คะแนน)๐ ควรปรับปรุง ๐ - ๑๔๑ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ๑๕ - ๑๙๒ ดี ๒๐ - ๒๕๓ ดีเยี่ยม ๒๖ - ๓๐หลังจากที่นักเรียนสอบเสร็จแต่ละครั้ง จะทำการวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อนำไปใช้ใน การปรับปรุงการวัดผลในครั้งต่อไป๒. การพัฒนาทางวิชาการ๑.๒.๑ มีการพัฒนาจัดหาประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้สื่อการสอนมีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสื่อการสอนสามารถช่วยถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเร้าความสนใจของนักเรียน ทำให้เข้าใจบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง ช่วยเพิ่มสมรรถภาพของการเรียนการสอนได้อย่างดียิ่ง ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ ทำให้เกิดทักษะ ช่วยพัฒนาแนวความคิดและความสามารถของนักเรียนได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องใช้สื่อ ให้หลากหลายชนิด เพื่อฝึกให้นักเรียนเกิดทักษะดังกล่าว ในการพัฒนาจัดหาสื่อเรียนการสอนได้ปฏิบัติ ดังนี้การผลิตและการจัดหาสื่อการเรียนการสอนในด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน ข้าพเจ้าได้ผลิตและจัดหาสื่อการเรียนการสอนเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หลายวิธี ดังนี้๑. สร้าง/เตรียมสื่อเอกสารไว้หลายประเภท ดังนี้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่- E-Learning วิชาการจัดการฐานข้อมูล ,วิชาตารางการทำงาน,วิชาการโปรแกรมเบื้องต้น- Cai ต่างๆ เช่น การจัดการข้อมูลเบื้องต้น - สื่อมัลติมีเดีย - อินเตอร์เน็ต สื่อประเภทเอกสาร ได้แก่- ใบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน - ใบงาน ใบกิจกรรม เพื่อชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนตาม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ - แบบบันทึกการสรุปความรู้ของนักเรียน- แนวสรุปความรู้และแนวเฉลยคำตอบสำหรับผู้สอน- หนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสืออ่านประกอบ และเอกสารประกอบการสอน๒. รวมกลุ่มนักเรียนที่สนใจโปรแกรมมัลติมิเดีย ผลิตสื่อการสอนการใช้โปรแกรมต่างๆ วัสดุอุปกรณ์อย่างประหยัด โดยนักเรียนเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ควบคุมกระบวนการ และแนะนำการใช้ ความถูกต้อง แล้วคัดเลือกผลงานที่ดีเก็บไว้ใช้ในสาระคอมพิวเตอร์ หรือแจกจากให้สาระอื่นๆที่ต้องการต่อไป๓. ขอความร่วมมือกับฝ่ายโสตทัศนศึกษาในโรงเรียน เพื่อบันทึกวีดีทัศน์ จากรายการ โทรทัศน์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบทเรียน เช่น การศึกษาไกลกังวล การตัดต่อวีดีโอ เป็นต้น๔. ได้ผลิตอุปกรณ์ที่เหมาะสมไว้เลือกใช้หลายอย่าง ได้แก่ โมดูลส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ แผ่นภาพ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอน มีการใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย ตลอดจนได้ผลิตสื่อการสอนประเภท บทเรียนสำเร็จรูป ประกอบการสอนทุกรายวิชาที่ทำการสอน สำหรับให้ผู้เรียนค้นพบคำตอบด้วยตนเองอีกวิธีหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้นักเรียนร่วมกันจัดทำเป็นกลุ่ม เช่น การทำ E-book การสร้างคลังข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยโปรแกรม Moodle ทั้งของโรงเรียน และของเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๑ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนและสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทั้งยังทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานได้เป็นอย่างดี การจัดทำ การผลิต และการใช้สื่อการสอน๑. การจัดหาและจัดทำสื่อ ในการผลิตสื่อการสอน ได้ผลิตและจัดหาสื่อการเรียน การสอนเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์หลายวิธี โดยพิจารณาและดำเนินการ ดังต่อไปนี้ - วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชาต่างๆ ที่ทำการสอนเพื่อกำหนดสื่อการสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการวัด - สำรวจสภาพปัญหา ความจำเป็น และความต้องการสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาที่สอนและทำให้ทราบความต้องการในการใช้สื่อการเรียนการสอน เช่นในการสอนรายวิชา การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น รายวิชาการจดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นวิชาเพิ่มเติมและอุปกรณ์การสอน ซึ่งมีความซับซ้อนของเนื้อหา ข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ สะสมประสบการณ์และรวบรวมข้อมูลความรู้จากที่ต่างๆ ศึกษาโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์มาช่วยประกอบการสอนมาทำเป็นใบความรู้ ใบงาน เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เกิดความสนใจอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่สอน ใช้คำถาม ภาพประกอบ VDO เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการสอน ที่ยั่วยุให้นักเรียนเกิดความพยายาม ความตั้งใจ - สำรวจทรัพยากรสำหรับการผลิตสื่อ ได้แก่ งบประมาณ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้ได้สื่อที่ต้องการ- ดำเนินการขออนุมัติค่าใช้จ่ายจากหมวดวิชาตามโครงการ และเสนอต่อผู้บริหารอนุมัติ-วางแผนในการผลิตหรือจัดหาสื่อการเรียนการสอน หากผลิตเองได้จะขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำสื่อ การเตรียมสื่อการเรียนรู้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าในแต่ละบทเรียนจะใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างไร แล้วจัดเตรียมสื่อการสอนไว้ใช้ประกอบการเรียนการสอนตามบทเรียนให้ตรงตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังซึ่งกำหนดไว้ แล้วตรวจดูสื่อการเรียนที่เลือกมาอีกครั้งหนึ่งและปฏิบัติ ดังนี้๑. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ ในส่วนของการใช้สื่อการเรียนการสอน เพื่อเตรียมการใช้สื่อได้โดยสะดวก รวดเร็วขณะดำเนินการสอน ชี้แจงวิธีการและจุดมุ่งหมายใน การใช้สื่อการเรียนแก่นักเรียนให้เข้าใจตรงกันในกรณีที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อ๒. เตรียมสื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหา จุดประสงค์และเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เช่น บทเรียนออนไลน์ ใบความรู้ ใบงาน แบบบันทึกสรุปความรู้ ก็จัดการอัดสำเนาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนสอนจริง๓. จัดเตรียมวางอุปกรณ์การสอนที่จะใช้ไว้ให้พร้อม เรียงตามลำดับการใช้ก่อนหลังให้ สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเรียน เพื่อป้องกันมิให้สับสนขณะใช้ เช่นบทเรียนออนไลน์ ที่ระบบบทอินเทอร์เน็ต หากขัดข้องก็ใช้ระบบอินทราเน็ต หรือ CD ๔. ทดลองการใช้สื่อการเรียนการสอนก่อนทำการสอนจริง เพื่อให้เกิดความมั่นใจระหว่างสอนและเพื่อความสะดวกรวดเร็ว หากพบปัญหาจะแก้ไขก่อนสอนจริง๕. ตรวจดูแสงสว่าง การระบายอากาศ สำรวจความเรียบร้อยของสถานที่เพื่อให้เอื้อต่อความสนใจของนักเรียนขณะศึกษาจากสื่อ๗. เตรียมนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นด้วย เช่น ให้นักเรียนใช้สื่ออย่างถูกต้อง เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้สื่อการเรียนการสอนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เตรียมไว้ในระหว่างการเรียนการสอนจะปฏิบัติ ดังนี้๑.ใช้สื่อการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนตามที่ได้ทดลอง ใช้แล้ว ๒. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อให้มากที่สุดคือ บทเรียนออนไลน์ หรือ ใบความรู้ ใบงาน แบบสรุปความรู้ แบบเฉลยคำตอบ ที่นักเรียนสามารถจัดหาข้อมูลได้ตาม ความสนใจ หรือสื่อจากอินเตอร์เน็ตที่นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ตามอัธยาศัย๓. การใช้สื่อ การเลือกใช้สื่อการสอน โดยใช้บทเรียนออนไลน์(E-Learning) ได้คำนึงถึงความเหมาะสมของสื่อ โดยให้สัมพันธ์กับเรื่องที่สอนและตรงกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นสื่อการสอนเร้าความสนใจของนักเรียน และทำให้บรรลุจุดประสงค์ได้เร็ว คือ นักเรียนสามารถเข้าบทเรียนออนไลน์ได้ทันที มีการทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียนในแต่ละหน่วยเพื่อทราบความรู้เดิมของนักเรียน และเข้าศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนั้นๆ ปฏิบัติตามใบงานที่มอบหมายแล้ว ทดสอบระหว่างเรียนหลังปฏิบัติกิจกรรม เพื่อจะทราบผลการเรียนในหน่วยการเรียนนั้นๆ และเป็นสื่อการสอนที่นักเรียนสามารถกับไปทบทวนได้อีก เมื่อทดสอบไม่ผ่านหรือยังไม่พอใจผลการเรียนในหน่วยนั้น การใช้สื่อการเรียนการสอนที่เตรียมไว้ในระหว่างที่มีการสอนจะปฏิบัติโดยเริ่มต้นด้วยการกล่าวนำเข้าสู่บทเรียนตามเรื่องที่เตรียมไว้ทันที กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ อยากรู้อยากเห็น เช่น อ้างถึงข่าวหรือเหตุการณ์ประจำวัน ภาพโฆษณา ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังอธิบาย ยกปัญหาหรือคำถามที่ยั่วยุให้นักเรียนอยากค้นคว้าหาคำตอบ เพื่อให้นักเรียนทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ ใช้สื่อการเรียนตามลำดับขั้นตอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน ตามที่เคยทดลองใช้มาแล้ว เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้สื่ออุปกรณ์ เช่น ได้สาธิต ได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนจากสื่อด้วยตนเอง และจากกลุ่มร่วมมือ หลังจากใช้สื่อการเรียนการสอนเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วได้ปฏิบัติ ดังนี้๑. ประเมินผลการใช้สื่อการเรียนการสอน โดยวิธีการ ดังนี้- สังเกตจากพฤติกรรมของนักเรียน- สังเกตจากความตั้งใจและความสนใจของนักเรียนขณะใช้สื่อ- ใช้แบบสอบถามนักเรียนหลังการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ประกอบการสอน- ประเมินผลการเรียนหลังเรียนแต่ละหน่วยการเรียนรู้- นำผลการประเมินมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนต่อไป๒. สื่อการเรียนรู้ที่ใช้แล้วได้เก็บรวบรวมรักษาไว้เพื่อใช้ในภาคเรียนต่อไป หากมีการชำรุดเสียหายหรือมีข้อบกพร่องในการใช้งานก็จะปรับปรุงแก้ไขทันที๓. เมื่อนำอุปกรณ์ของสาระวิชาหรือจากฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์มาใช้ในการสอนแล้ว จะดูแลให้อยู่ในสภาพดี ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้วและจัดเก็บอย่างเรียบร้อย และจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทราบด้วย๔. การเก็บรักษาสื่อ สื่อการเรียนการสอนที่ใช้แล้วได้เก็บรวบรวมรักษาไว้ เพื่อใช้ในภาคเรียนต่อไป หากมีการชำรุดเสียหายหรือมีข้อบกพร่องในการใช้งานก็จะติดต่อหรือนำไปให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และมีประสบการณ์มาทำการตรวจแก้ไขทันที และเมื่อนำอุปกรณ์ของหมวดวิชาหรือจากฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์มาใช้ในการสอนแล้ว จะดูแลให้อยู่ในสภาพที่ดี ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้ว และจัดเก็บอย่างเรียบร้อย๕. การพัฒนาสื่อ หลังจากใช้สื่อการเรียนการสอน เมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้ว จะติดตามการใช้สื่อการสอนเพื่อให้ทราบว่า ผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้และเกิดความคิดใหม่ๆ ตามที่คาดไว้หรือไม่เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการใช้สื่อในครั้งต่อไป หรืออาจเลือกสื่อ การเรียนรู้ ชนิดอื่นที่ดีกว่ามาใช้แทน มีการผลิตและจัดหาสื่อการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อให้เหมาะสมกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กิจกรรมและเนื้อหาที่สอนอยู่เสมอ ผลจากการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง ทำให้ข้าพเจ้าสามารถช่วยถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเร้าความสนใจของนักเรียน ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง ช่วยเพิ่มสมรรถภาพของการเรียนการสอนได้อย่างดี นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ ทำให้เกิดทักษะในการทำงาน มีความเชื่อมั่นในตนเอง ช่วยพัฒนาแนวความคิดและความสามารถของนักเรียนได้อย่างดียิ่ง๑.๒.๒ ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ข้าพเจ้ามีประสบการณ์ในด้านการสอนมาเป็นเวลา ๒๗ ปี ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอน วิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ,ปีที่ ๔ และปีที่ ๕ ข้าพเจ้ามีความสนใจ มุ่งเน้นการฝึกพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เชิงสร้างสรรค์ โดยสร้างบทเรียนออนไลน์ ส่งเสริมเกี่ยวกับ การใช้สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างประหยัด วัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัด เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ สนใจ เกิดทัศนคติที่ดี เกิดความภาคภูมิใจ รักหวงแหน และมีจิตสำนึกในการรักษา อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้สอนยังได้พานักเรียน ไปสำรวจแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นและจัดทำสื่อมัลติมีเดียเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ๑.๒.๓ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือก ใช้ประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาอย่างสม่ำเสมอผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การสอนในรูปแบบของบทเรียนออนไลน์(E-Learning) ประกอบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์ และสร้างผลงานด้วยโครงงาน เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นหาคำตอบในเรื่องตนสนใจ หรือสงสัยตามความต้องการโดยการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลความรู้โดยใช้เทคโนโลยีและจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ ในรูปแบบการบูรณาการ โดยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจรูปแบบและขั้นตอนในการจัดทำโครงงานแล้วสามารถใช้กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการคิดวิเคราะห์ ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ความรู้ และวางแผนในการจัดการ ลงมือปฏิบัติงานตามแผน นำเสนอและเผยแพร่ผลการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบโครงงานได้อย่างเป็นระบบ และนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงาน ประกอบการเรียนการสอนวิชาการจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เช่น - โครงงานโปรแกรมลูกหนี้- โครงงานโปรแกรมใบกำกับภาษี- โครงงานบัญชีการขายรถ- โครงงานโปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลังผลจากการพัฒนาการสอนแบบบูรณาการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้สาระคอมพิวเตอร์และกลุ่มสาระอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ โดยครูผู้สอนในรายวิชาต่างๆ ร่วมกันวางแผนกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมในหัวเรื่องเดียวกันตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผนการใช้สื่อและการวัดผลประเมินผล แล้วดำเนินการสอนตามแผน มอบหมายให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา ร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ และตรวจผลงานของนักเรียนจากชิ้นงานเดียวกัน เช่น บูรณาการการเรียนรู้ ประเพณี ยี่เป็ง เป็นประเพณีลอยกระทง ตามซุ้มประตูบ้านของชาวบ้านจะทำซุ้มประตูป่า ปัจจุบันจะเหลืออยู่น้อยมาก ในชุมชนเมือง โรงเรียนจึงส่งเสริมวิถีชีวิตชุมชนโดยจัดทำซุ้มประตูป่า เข้าร่วมประกวด ครูและ นักเรียน มีส่วนร่วมในการจัดทำโคมหกเหลี่ยม โคมกระบอก ครูสังคมจะปลูกฝังเรื่องวัฒนธรรมประเพณี ครูคณิตศาสตร์สอนให้นักเรียนทำโคมไฟประดับ ซึ่งต้องใช้หลักคณิตศาสตร์ ครูวิทยาศาสตร์สอนเรื่องโคมลอย ซึ่งต้องอาศัยหลักของอากาศร้อน ลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง ครูกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพสอนนักเรียนเรื่องอาหารพื้นเมือง ครูศิลปะ สอนนักเรียนตัดตุงประดับ และสาระคอมพิวเตอร์สอนนักเรียนสร้างแผ่นพับความเป็นมาของประเพณียี่เป็ง และรวบรวมข้อมูลต่างๆ เป็น มัลติมิเดีย เพื่อเป็นสื่อและใช้เผยแพร่ต่อไป ให้ผู้ปกครองเข้ามาเยี่ยมชนผลงานของลูกหลานที่แสดงออกด้วยความเต็มใจ มีความสุขสนุกสนานกับวัฒนธรรมนักเรียน ได้การเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แสดงออกบนเวทีจัดชุดการแสดงแฝงมาด้วยความคิด ผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมกับวัฒนธรรมใหม่ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ร่วมแสดง ย่อมเกิดการเรียนรู้ มีผู้นำ มีผู้ตาม ได้ใช้ภาษาท้องถิ่น ภาษาต่างประเทศ ครู ได้สอนนักเรียนโดยใช้สถานการณ์จริง มีเวทีการแสดงให้นักเรียน ได้สอนแบบมืออาชีพ เป็นผู้แนะนำที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ การค้นหาและการค้นพบสิ่งใหม่ๆโรงเรียน ได้เกียรติยศ ชื่อเสียง ได้การยอมรับในสังคม และได้รับการสนับสนุนของผู้ปกครอง และชุมชน ชุมชน ได้ความภาคภูมิใจ ในความสามารถของบุตรหลาน ได้ผู้สืบทอดทางวัฒนธรรมประเพณีพัฒนารูปแบบของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน ได้รับคำแนะนำจากผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมด้วยตนเอง เช่น การแสดงบนเวที นักเรียนแต่ละชั้นเรียนจะบูรณาการด้วยตนเอง นำเอาวิถีชาวบ้านที่พบเห็น ศิลปะ ฟ้อนรำ ดนตรีไทย เข้ามาประยุกต์กับเนื้อเรื่อง ทำให้เกิดความแปลก ความหลากหลายของกิจกรรม นักเรียน ครูเป็นผู้แนะนำช่วยให้เกิดการเรียนรู้ การค้นหา การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ๑.๒.๔ ใช้หรือสร้างเครือข่ายทางวิชาการ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นหัวหน้างานสำนักงาน กลุ่มงานบริหารทั่วไป และกรรมการและเลขางานพัฒนาองค์กร คณะกรรมการงานพัฒนาบุคลากร วิทยากรศูนย์ สถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาคอมพิวเตอร์ วิทยากรด้านคอมพิวเตอร์เขตพื้นที่การศึกษา เขต๑ คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพและประเมินคุณภาพการศึกษาโรงเรียน กัลยาณี คณะกรรมการประสานงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีวิทยฐานะ ครูชำนาญการ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการ ได้ปฏิบัติหน้าที่ ประสานและแนะนำการจัดเตรียมเอกสาร เผยแพร่ความรู้และเป็นต้นแบบในการจัดทำผลงานทางวิชาการ สร้างเครือข่ายทางวิชาการ โดยเป็นครูต้นแบบ ในการสร้างสื่อการสอน ด้วยบทเรียนออนไลน์(E-Learning) ในกลุ่มสาระต่างๆ จำนวน ๑๕ คน ซึ่งได้ผลงานเป็นที่พอใจ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้๒. คุณภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยะฐานะ๒.๑ ผลงานที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจในสาระหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือการปฏิบัติงาน ส่งเสริมการเรียนรู้ที่รับผิดชอบข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่การสอนอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ได้ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ทุ่มเทความรู้ความสามารถและเวลา เพื่อปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ย่อท้อต่อการปฏิบัติงานที่ต้องลำบากตรากตรำ หรือขาดแคลนอัตรากำลังหรือวัสดุอุปกรณ์ ตั้งใจปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ ผลงานไม่ผิดพลาด มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของงาน มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย นอกเวลาราชการ ในวันเสาร์ – อาทิตย์ ในระหว่างปิดภาคเรียน เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียน ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน อุทิศเวลาและทุ่มเทกำลังความสามารถด้วยการเสียสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญาเพื่อประโยชน์ต่อทางราชการ ในการทำงานอย่างเต็มที่ ปฏิบัติงานตามขั้นตอน และระบบงานของทางราชการอย่างสม่ำเสมอ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน จนเป็นที่เคารพนับถือแก่นักเรียน ชุมชน เพื่อนร่วมงาน และบุคคลทั่วไป จากการที่เป็นผู้อุทิศตน เพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพครู อย่างสูง ตลอดเวลาทำให้มีผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ทำให้ได้รับรางวัลครูผู้ปฏิบัติการสอนดีเด่น กลุ่มสาระคอมพิวเตอร์ ๒.๒ ผลงานที่เกิดจากความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทางวิชาการ ที่แสดงให้เห็นว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการปรับประยุกต์ การวิเคราะห์สังเคราะห์หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้น (ท.ม.)ครูผู้ปฏิบัติการสอนดีเด่น กลุ่มสาระคอมพิวเตอร์ สำนักงานสามัญศึกษา ครูแกนนำ ครูต้นแบบกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สร้างคุณประโยชน์แก่โรงเรียนของกรมสามัญศึกษา นับอเนกประการ ผลงานทางวิชาการที่ผลิตขึ้นมี ดังนี้ - การศึกษาและพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์(E-Learning) วิชาการจัดการฐานข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕- รายงานการพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้บทเรียนออนไลน์ (E-Learning) วิชาการ จัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access- รายงานวิจัยสำรวจความต้องการการใช้บทเรียนออนไลน์ใน จังหวัด - รายงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น- บทเรียนออนไลน์วิชาตารางการทำงาน- บทเรียนออนไลน์วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น- บทเรียนออนไลน์สำหรับเครือข่ายครูแกนนำในการสร้างบทเรียนออนไลน์- คู่มือครูการสร้างบทเรียนออนไลน์๒.๓ ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงทักษะในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาวิชาการและการประเมินผลที่เหมาะสมกับสาระหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ผลงานด้านการวิจัยได้จัดทำผลงานทางวิชาการและรายงานการพัฒนาผลงานทางวิชาการดังนี้- รายงานการพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้บทเรียนออนไลน์ (E-Learning) วิชาการจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access- จัดทำคู่มือครูการสร้างบทเรียนออนไลน์- แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาการจัดการ ฐานข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕- แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาตารางการทำงาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการโปรแกรมเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒- รายงานการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน- คู่มือกลุ่มงานบริหารทั่วไปและพัฒนาองค์กร- รายงานการประเมินตนเอง (SAR)ผลงานด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาและการวิจัยในชั้นเรียนได้พัฒนาการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบ โดยการทำวิจัยในชั้นเรียนซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ จึงได้วิจัยเพื่อแก้ปัญหาและช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่างๆ ซึ่งได้รับรู้ปัญหาด้านการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์มาโดยตลอด และจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ ให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ นักเรียนส่วนใหญ่ มีปัญหาด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้แป้นพิมพ์ การใช้เมาส์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ได้สอบถามจากครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์และหาข้อมูลจากร้านหมอคอมพิวเตอร์ ที่นักเรียนมาใช้บริการแก้ไขข้อบกพร่องทักษะทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ พบปัญหาว่านักเรียนไม่มีทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้แป้นพิมพ์ การใช้เมาส์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เช่น การขออีเมล์แอดเดส การสืบค้นข้อมูล การใช้อินเทอร์เน็ต เนื่องจากได้รับการฝึกทักษะคอมพิวเตอร์น้อยมากโดยเฉพาะนักเรียนที่มาจากโรงเรียนรอบนอก ต่างอำเภอ จึงเป็นปัญหาที่ต้องหาทางแก้ไขโดยจัดทำเอกสารแบบฝึกและสื่อการสอนเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น การขออีเมล์แอดเดส การสืบค้นข้อมูล การใช้อินเทอร์เน็ต จัดมุมการใช้คอมพิวเตอร์ โดยการนำคอมพิวเตอร์เก่ามาซ่อมแซม ให้นักเรียนได้ใช้ทดลองฝึกทักษะการใช้ ในเวลาว่าง เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการทักษะการใช้ และนำไปใช้ในการสอนเสริม หรือ ฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมใน กิจกรรมการเรียน การสอนต่อไป จึงได้แก้ไขปัญหาด้านการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนโดยได้จัดทำการวิจัยในชั้นเรียนดังนี้ ก. รายงานการศึกษาและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาการจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ความเป็นมาและความสำคัญจากปัญหาของการศึกษาไทยที่ผ่านมา มีจุดอ่อนที่ยังไม่สามารถพัฒนาเด็กไทยให้เป็นผู้ที่มีทักษะในด้านการเรียนรู้ ดังนั้นพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงได้ระบุไว้ในมาตรา ๒๔ ข้อ ๒ และ ๓ ว่า ให้สถานศึกษาดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้โดย “ ……...๒. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ๓. จัดกิจกรรมให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง” ( กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๒ : ๑๙ )การพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะและความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ดีขึ้นนั้น จำเป็นที่จะต้องสอนให้นักเรียนมีทักษะในด้านการคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล คิดแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารญาณ มีความคิดสร้างสรรค์และเนื่องจากวิชาการจัดการฐานข้อมูล เป็นเรื่องที่ซับซ้อน จึงยากแก่การเข้าใจและการสอน ดังนั้นจึงต้องอาศัยสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ครูมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้นในการสอน และเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่สูงขึ้นเพื่อให้ได้กรอบความคิดที่ชัดเจน มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ผลิตบทเรียนออนไลน์ขึ้นมาใช้ถ่ายทอดความรู้เพื่อสอนทักษะการใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเพื่อจะช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในการเรียนรู้ กระบวนการจัดการกับฐานข้อมูลในด้านต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงประโยชน์ของบทเรียนออนไลน์(E-Learning) ที่มีต่อการเรียนการสอนไว้ พอสรุปได้ว่าบทเรียนออนไลน์ (E-Learning) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครู ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น สามารถกระตุ้นความสนใจในเรื่องที่เรียนได้เป็นอย่างดี และทำให้นักเรียนสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายในบทเรียน ช่วยฝึก ความคิดสร้างสรรค์ของบทเรียน ใช้ฝึกการอ่านทำให้นักเรียนมีความสนใจในการอ่านเพิ่มขึ้น บทเรียนออนไลน์(E-Learning) เพื่อสอนทักษะการใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลนี้ ครูสามารถนำไปใช้เป็นนวัตกรรมที่สามารถสอนแทนครูได้ ช่วยลดภาระงานของครูและนักเรียนอันเนื่องจากศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่เท่ากัน ทำให้ผู้เรียนที่มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์หรือเรียนรู้ไวสามารถเรียนไปข้างหน้าได้โดยไม่ต้องรอกลุ่มที่เรียนช้า ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายในการเรียน สามารถช่วยพัฒนาและส่งเสริมทักษะในด้านการคิดของนักเรียน เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้อันจะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า๑. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ บทเรียนออนไลน์ วิชาการจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access ๓. เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์โดย เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังผ่านการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๙๐%-๖๐%๔. เพื่อวัดความพึงพอใจต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Accessประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา เชิงทฤษฎี๑. ได้บทเรียนออนไลน์ วิชาการจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access เป็นสื่อหลักในการจัดการเรียนการสอน ๒. เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (ประเภทสื่อหลัก ) เพื่อใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๓. เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพในด้านทักษะการเรียนรู้ด้วย ตนเอง สรุป การอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าผลการศึกษาค้นคว้าบทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ปรากฏว่า๑. ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์เป็นการตอบสนองต่อการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนตามความต้องการ ความสามารถของตนเองได้อย่างอิสระ หากผู้เรียนเรียนเนื้อหาแล้วไม่เข้าใจ ก็สามารถทบทวนบทเรียนใหม่ได้ทันที และกิจกรรมในบทเรียนยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอยู่ตลอดเวลา มีการจัดรูปแบบในการสอนอย่างชัดเจน โดยการนำเสนอเนื้อหาข้อมูลบนจอภาพอย่างเป็นระบบทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเรียนเนื้อหาจบแล้วยังมีโอกาสได้ทดลองทำแบบฝึกปฏิบัติจากกิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนความรู้ เนื้อหา และขั้นตอนในการปฏิบัติโปรแกรม รวมทั้งมีการถามตอบในแบบทดสอบแต่ละบทเรียนที่สามารถทราบผลคะแนนได้ทันที เป็นการเสริมแรงทำให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน สนใจอยากศึกษาและเรียนรู้นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยเหลือตนเอง และมีความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๔.๓๓/๘๑.๓๘ สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ดังนั้นบทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้กับผู้เรียนกลุ่มอื่นในเนื้อหาวิชานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ๒. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน บทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access ผลการดำเนินการพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการใช้บทเรียนออนไลน์มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ ๒ ทั้งนี้เพราะการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถอย่างอิสระ เมื่อผู้เรียนเรียนเนื้อหาแล้วไม่เข้าใจ ยังสามารถทบทวนเรียนใหม่ได้แล้ว ในส่วนของรูปแบบการเสนอเนื้อหายังมีรูปแบบที่หลากหลาย ในขั้นตอนของการศึกษาผู้เรียนรู้สึกเหมือนได้ปฏิบัติจริง สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย นอกจากนั้นภายหลังการเรียนของผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงตามกิจกรรมแบบฝึกปฏิบัติจริง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนและยาวนานขึ้น และมีการทบทวนความรู้ของผู้เรียนซ้ำด้วยการถามตอบในแบบทอสอบแต่ละบทเรียน ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสามารถปฏิบัติได้ มีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ๓. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างภายหลังการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access กับเกณฑ์ ๙๐%-๖๐%ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการจัดการฐานข้อมูล ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access เป็นไปตามเกณฑ์ ๙๐%-๖๐% ที่ตั้งไว้ ผู้เรียนสามารถทำคะแนนหลังผ่านการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ได้ ๖๐% ขึ้นไป ทั้งนี้เพราะ ผู้เรียนได้ศึกษาบทเรียนออนไลน์ได้อย่างอิสระตามความสามารถของตนเองและได้ทดลองบทปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้ศึกษา เมื่อเกิดปัญหาในการปฏิบัติขั้นตอนใดก็สามารถทบทวนเนื้อหาวิธีการปฏิบัติได้จากบทเรียนออนไลน์ ผู้เรียนได้ทราบความก้าวหน้าและความบกพร่องของตนเอง ทั้งสามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาคำตอบได้ด้วยตนเอง ตลอดเวลาและปัญหาข้อบกพร่องได้ตรงจุด สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ข้อบกพร่องหรือปัญหาในการปฏิบัติในขั้นตอนต่าง ๆ ถูกขจัดให้หมดไป ผู้เรียนจึงมีความเข้าใจในเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง ชัดเจนทุกขั้นตอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจึงบรรลุเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๖๐% ๔. ผู้เรียนได้แสดงความพึงพอใจอย่างยิ่งในด้านความพึงพอใจที่จะเรียนบทเรียนออนไลน์วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access เพราะเห็นว่าเป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน สามารถช่วยคนในครอบครัวทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์รวมทั้งเป็นการฝึกสมองทำให้ทันโลกทันเหตุการณ์ถึงแม้จะคิดว่าเป็นวิชาที่ยาก เนื่องจากมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะบทเรียนออนไลน์ ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข ได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองและผู้เรียนมีโอกาส ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ โดยการนำความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ เสมอทั้งในและนอกห้องเรียนสรุปผลการศึกษาค้นคว้า๑. ผลการศึกษาค้นคว้าที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า บทเรียนออนไลน์ วิชาการจัดการข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access ที่สร้างขึ้น ทั้ง ๙ หน่วยการเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๔.๓๓/๘๑.๓๘ สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่กำหนด และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้โดยมีประสิทธิภาพของการบวนการวัดผลจากคะแนนทดสอบระหว่างเรียนเฉลี่ยได้เท่ากับ ๘๓.๓๔ และมีประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ จากคะแนนทดสอบระหว่างเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียนกับเกณฑ์มาตรฐานมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนใช้บทเรียนออนไลน์ วิชาการจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ = .๐๑ ๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังดำเนินการใช้บทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access สูงกว่าเกณฑ์ ๙๐%-๖๐% ที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่าบทเรียนออนไลน์ วิชา การจัดการฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Access ที่สร้างขึ้น สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถผลิตชิ้นงาน หรือโครงงาน การจัดการข้อมูล โดยผ่านสื่อบทเรียนออนไลน์ได้เป็นอย่างดี ๔. ผลการหาค่าเฉลี่ยจากแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นพึงพอใจอย่างยิ่งที่จะเรียนรู้ด้วยบทเรียน ออนไลน์ แสดงความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งทุกรายการ เฉลี่ย ๒.๗๗การจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด มือครูกู้แผ่นดินตามยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและรายงานการพัฒนาสื่อหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด มือครูกู้แผ่นดินตาม ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้จัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดมือครูกู้แผ่นดิน จำนวน ๑๒ เรื่อง ได้แก่ ๑. มือครูกู้แผ่นดิน ๒. การศึกษาพัฒนาคน ๓.ปฏิรูปการเรียนรู้…....ผู้เรียนเป็นสำคัญ ๔.ยุทธศาสตร์การเรียนรู้..…..เรียนอย่างมีความสุข ๕.ปัจจัยแห่งการเรียนรู้..…สิ่งแวดล้อม…..บรรยากาศ..….ปราชญ์ชุมชน ๖. การศึกษาตลอดชีวิต… ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ ๗.เสริมวินัยใจ…แก้ไขวิกฤตชาติ ๘. หักไม้เรียว ๙.ปั้นดินให้เป็นดาว ๑๐. กัลยาณมิตร ๑๑. ระฆังขาน ๑๒. วิกฤตการศึกษา มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อพัฒนาทักษะการแต่งบทร้อยกรอง เชิงสร้างสรรค์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ในรายวิชาวรรณศิลป์นิทัศน์ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา

No comments: